วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลักษณะของวัฒนธรรม



ลักษณะของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมมีลักษณธสำคัญซึ่งอาจแยกกล่าวได้ ดังนี้
 
1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากากรเรียนรู้ (Learned Behavior)

วัฒนธรรม ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด และไม่ใช่สิ่งที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น กริยาท่าทาง การพูด การเขียน การแต่งกาย มารยาทต่าง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยการเรียนรู้เท่านั้น
จึงจะทำได้ การที่มนุษย์สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมได้ ก็เพราะมนุษย์สามารถติดต่อทำความเข้าใจกัน
โดยใช้สัญญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนแต่ถ้ามนุษย์ถูกแยกออกจากเพื่อน
มนุษย์อื่น และไม่ได้รับการสั่งสอนก็ไม่อาจทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ดังนั้น การที่เด็กขาดลักษณะของความเป็นมนุษย์
ที่ีสมบรูณ์ ก็เพราะว่าไม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรม วัฒนธรรมจึงเป็นพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้

การลอยกระทง

2. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต (Way of Life)
             
ในทางสังคมศาสตร์ กล่าว วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนด
พฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต เป็นตัวกำหนดรูปแบบที่ีจดจำสืบต่อกันมา
ทั้งด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การปกครอง การกิน การเขียน การทำงาน ล้วนเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิต
ของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแบบแผนกันไปในแต่ละชาติ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมจีน หรือวัฒนธรรม
ตะวันตกเป็นตน

วัฒนธรรมการแต่งงานแต่ละชาติ

3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม (Social Heritage)
            
วัฒนธรรมของมนุษย์นั้นสามารถถ่ายทอดสืบสารต่อกันได้ วึ่งเกิดจากการเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น
ภาษาพูด ภาาาเขียน หรือสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ช่วยให้มนุษย์สื่อสารและเข้าใจกันได้

ศิลาจารึก

 4. วัฒนธรรมเป็นลักษณะที่เหนืออินทรีย์ (The Superorganic)

      
หมายถึงวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งไม่คงที่ั่นั้นคือ การเปลี่ยน
แปลงที่ไม่เกี่ยวพันกับ กระบวนการทางพันธุกรรม หรือไม่เกี่ยวข้อง กับ
ร่างกายนั่นเอง มนุษย์ชาติทั้งมวล สามารถได้รับประโยชน์ จากสิ่งประดิษฐ์
ใหม่ๆให้เหมาะสมกับสถานการณื สภาพแวดล้อมที่สะดวกรวดเร็วขึ้นผลที่ ตามมา
คือมีการสร้างท่าอากาศยาน ถนนหนทาง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผลต่อสังคมใน ด้านอื่นๆ
มากมาย
     

 จะเห็นได้ว่าลักษณะของวัฒนธรรมที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ จากแบบแผนการดำเนินชีวิต ซึ่ง สังคม
แรกที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้คือ ครอบครัว วัฒนธรรมใดที่สังคมยอมรับว่าดีก็จะถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังกลาย
เป็นมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ วัฒนธรรมยังมีลักษณะเป็นการ แสดงออกในรูปของความ
คิดการปฎิบัติ
โดยสมาชิกรับรู้ร่วมกัน และประพฤติ ปฎิบัติให้เหมาะสมกับสังคมของตน อย่างไรก็ตามวัฒนธรรม
มิใช่เป็น
ของผู้ใดโดยเฉพาะ แต่เป็นของส่วนรวมจากการที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน สร้างรูปแบบในการดำเนินชีวิต ร่วมกัน
ในสังคม ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับและถือปฎิบัติร่วมกัน ไม่ใช้เป็นของสมสชิกในสังคม
คนใดคนหนึ่งที่ยอมรับและถือปฎิบัติเท่านั้น

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี


Free นาฬิกาน่ารัก Backgrounds FreeGlitters.Com

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรม



วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา กฎหมาย ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้


วัตถุประสงค์ทั่วไป

1. ทราบความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของวัฒนธรรม
2. เข้าใจองค์ประกอบของวัฒนธรรม
3. ทราบถึงประเภทของวัฒนธรรม ยกตัวอย่างในแต่ละประเภท
4. เข้าใจหน้าที่ของวัมนธรรม
5. เข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้สังคมต่าง ๆ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน



วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม


1. อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของวัฒนธรรมได้
2. อธิบายองค์ประกอบและประเภทของวัฒนธรรมได้
3. จำแนกประเภทวัฒนธรรม ยกตัวอย่างแต่ละประเภทได้
4. อธิบายหน้าที่ของวัฒนธรรมได้
5. อธิบายปัจจัยที่ทำให้สังคมต่าง ๆ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้